fbpx

Mosaic Sonite ทางเลือกในการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

หลายคนคิดว่า…การออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืน หรือ Green Architecture เป็นเรื่องที่ยาก และเต็มไปด้วยความท้าทาย เพราะไม่รู้ว่ามันจะมีของให้เลือกใช้ไหม ต้องลงทุนเท่าไหร่ ใครเป็นคนทำ และถ้าทำออกมาแล้วมันจะได้อย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ประเด็นเหล่านี้มักเกิดขึ้นแทบทุกครั้งในการออกแบบของ รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Creative Center for Eco-Design) ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC: Research & Innovation for Sustainability Center) ซึ่งอุปสรรคที่เจอนั้นมันมีอยู่หลากหลาย ทั้งเชิงเทคนิค การเงิน และจิตวิทยา บ่อยครั้งก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือระเบียบต่างๆ ทำให้ต้องมีการวางแผนและปรับแผนให้สอดรับกับนโยบายที่เกิดขึ้น ยากต่อการตัดสินใจของผู้ที่จะพัฒนาสถาปัตยกรรมยั่งยืน

และถ้าพูดถึงการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมในยุค Covid-19 ยิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมันรวมถึงสภาพแวดล้อมภายในอาคารด้วย ฉะนั้นสิ่งที่ต้องตระหนักเลยคือ…ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม เราต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น บ้านหลังนั้นต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรต่อตัวผู้อยู่อาศัย การเลือกใช้วัสดุจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการออกแบบ วัสดุที่ดีต้องไม่ปล่อยสารไอระเหยที่เป็นพิษ มีช่องเปิดเพียงพอให้ระบายอากาศได้ เอาของที่เป็น Toxic, Chemicals ต่างๆ ระบายออกไป ประหยัดพลังงานและประหยัดเงินในกระเป๋าที่ต้องไปรักษายามเจ็บป่วยของคุณได้

“ผมว่าพอคนอยู่บ้านมากขึ้น เค้าก็อยากที่จะให้สภาพแวดล้อมรอบตัวดี ดูน่ารัก น่าใช้งาน ซึ่งในอดีตเราอาจจะมีตัวเลือกอยู่ไม่กี่ตัว เช่น วัสดุกรุผิวอย่าง กระเบื้อง โมเสกแก้ว วอลเปเปอร์ หรือการทาสี”

สำหรับ ดร.สิงห์ แล้ว ประเด็นแรกๆ ในการเลือกวัสดุกรุผิว จะดูที่ว่าวัสดุนั้นปล่อยสารไอระเหยหรือไม่ ขนาดช่องเปิดของห้องก็ส่งผลต่อความเข้มข้นของสารพิษและคุณภาพอากาศในอาคาร เพราะขนาดของช่องเปิดและพื้นผิวของผนัง พื้น และฝ้า จะส่งผลต่อทั้งปริมาณการปล่อยสารไอระเหยและการระบายอากาศออกจากห้อง วัสดุกรุผิวต่างๆ หากมีสารไอระเหยมันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ชีวิตในเมืองทำให้เราใช้เวลาอยู่ในอาคารถึง 90% การเลือกสีทาอาคารก็ควรเช็คก่อนว่า Low VOC หรือ No VOC รึเปล่า ซึ่งเดี๋ยวนี้มีฉลากบอกผู้บริโภคแล้ว แม้แต่หินธรรมชาติ เราก็ต้องระวังสารเรดอนที่มองไม่เห็น ไม่มีกลิ่น ซึ่งมีผลต่อสุขภาพเช่นกัน

“ในการออกแบบบ้าน จริงๆ แล้ว ผมตั้งใจเลยครับ ด้วยความที่ผมเป็นนักออกแบบที่อัพไซเคิลเศษวัสดุ ผมมักจะถามผู้รับเหมาว่าเศษวัสดุไหนที่เอากลับมาใช้ได้อีก และผมจะเลี่ยงการใช้วัสดุก่อสร้างที่หลากหลายเกินไป เพราะทำให้เกิดเศษวัสดุเยอะ อย่างบ้านผมจะใช้วัสดุตกแต่งอยู่ 3-4 อย่างเท่านั้นเอง อย่างประตูที่ผมใช้อาจจะดูมีหลายขนาด คือตอนออกแบบผมพยายามเลือกใช้วัสดุที่เหลืออยู่ใน Dead Stock ของโรงงาน เป็นต้น

ส่วนห้องน้ำ ผมเลือกใช้กระเบื้องขนาดมาตรฐาน 30×60 cm. ที่ดูเรียบๆ แต่มีรายละเอียดคล้ายหินธรรมชาติสำหรับห้องน้ำในบ้านทั้งหมด จากที่เป็นสีเทาล้วนให้มีสีขาวหน่อยๆ ก็เลือกใช้โมเสกของ Sonite มาเบรค ดูระยิบระยับขึ้นมานิด แต่ก็ไม่มากเกินไป  ง่ายต่อการทำความสะอาดด้วย การที่เอาโมเสกนี่มาโผล่ที่ห้องน้ำ เป็นเรื่องที่แปลกมากสำหรับผม เพราะสิงห์ อินทรชูโต ถ้าออกแบบเนี้ย คงจะไม่มีการติดอะไรที่ยุบยับมากมาย แต่ผมกลับรู้สึกว่าผมอยากจะใช้มันเพิ่ม  แล้วก็หาวัสดุค้าง Stock ในโรงงานที่ดูแวววาวเข้ามาผสมผสานเพิ่มอีก  

อีกมุมที่ผมเลือกใช้โมเสกของ Sonite คือมุมทำงาน ผมเลือกใช้เป็น Series “TROCHUS LITE” เพราะมีเฉดสีให้เลือกเยอะกว่า Series อื่นๆ การวางสีโมเสกแต่ละแผ่น มีการออกแบบที่แบ่งชั้น ซึ่งมีสีและพื้นผิวที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน ทำให้เกินเอฟเฟกต์ดูมีมิติเพิ่มขึ้นอย่างมาก ยิ่งเวลาเปิดไฟก็จะได้อีกฟีลนึง  ดูไม่แล้วไม่น่าเบื่อ 

อย่างพวกวัสดุหรือแม้แต่ต้นไม้ตรงพื้นที่หลังบ้านก็เป็นของเดิมที่มีอยู่แล้ว ผมพยายามเก็บเอาไว้ก่อน ค่อยๆ ออกแบบตาม ซึ่งก็ไม่ง่ายนักสำหรับผู้รับเหมา การรักษาต้นไม้ตลอดช่วงก่อสร้างต้องละเอียดอ่อน ไม่เทน้ำปูนใกล้ๆ อีกอย่างผมเน้นเรื่องการระบายอากาศของบ้านมากๆ ในทุกครั้งที่ผมออกแบบ พยายามจะให้ระบายอากาศที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ มีหน้าต่างที่เปิดถึงกันได้หมดในทุกๆ ห้อง วางวัสดุให้ระบายน้ำ ซึมลงดินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ น้ำจากแอร์ ผมก็เก็บรดน้ำต้นไม้ทุกวัน ไม่ระบายทิ้ง นี่คือสิ่งที่ผมทำเสมอ”

จากการทำงานร่วมกับ Sonite มามากกว่า 10 ปี โปรเจกต์แรกที่ทำ คือ กระเบื้องเรืองแสง ที่สามารถเรืองแสงในที่มืดได้ ซึ่ง Sonite เป็นองค์กรที่ขวนขวายในการหานวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาวัสดุทั้งเชิงศาสตร์และศิลป์ แต่ละปีจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ ช่วงต้นของการพัฒนาวัสดุที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม น่าจะ 10 ปีมาแล้ว ตอนนั้นมันไม่ใช่เรื่องกระแสสังคมมากมายนัก แต่ก็เริ่มทำกับ Sonite ด้วย Scapa Collection ที่ใช้เศษวัสดุสวยๆ จากการผลิตกระดุม ตอนหลังๆ Eco Design มันเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบของสถาปนิก และของงานสถาปัตยกรรม ซึ่ง ดร.สิงห์ มีความภาคภูมิใจมากที่ได้ผลักดันมาตั้งแต่ต้น Sonite เริ่มมีวัสดุที่มาจากการใช้ Recycled Content หลายอย่างมาก ทั้งพิสดาร สวยงาม  ได้ความภูมิใจ และมีการทำ Carbon Footprint เพื่อให้เข้าใจว่า ของแต่ละอย่างปล่อยคาร์บอนในการผลิตแค่ไหน สิ่งเหล่านี้มันมากับองค์กรที่สนใจเรื่องนวัตกรรมควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

……………………………………………………………………………………………………………

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือเยี่ยมชมโชว์รูมได้ที่

253/43 Latphrao 80 Sec 22, ถ. ลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 

(ทุกวันทำการ เวลา 08.30-17.30 น.)
Tel: +66089-183-1733
Email: [email protected]
Website: http://sonitesurfaces.com